เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺกานุวตฺตโก ได้แก่ ผู้อนุวัตรตาม
พระธรรมจักร. ในคำว่า ปตฺโต ชีวิตสํสยํ นี้ ความสงสัยในชีวิต ชื่อว่า
ชีวิตสังสยะ. ถึงความสงสัยในชีวิตอย่างนี้ว่า พระเถระถึงความสิ้นชีวิตหรือ
หรือยังไม่ถึงความสิ้นชีวิต อธิบายว่า ถึงความสงสัยในชีวิตว่า เพราะภาวะที่
อาพาธรุนแรงพระเถระจะมรณภาพ หรือไม่มรณภาพ. บทว่า เย ตทา
อุปคตา มุนี
เมื่อเป็นทีฆะ ดังนี้ ก็หมายความถึงภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นรัสสะ
พร้อมทั้งนิคคหิต [มุนี] ก็หมายความถึงพระวรุณะอัครสาวก.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพราหมณ์ ชื่อว่า อติเทวะ ใน
รัมมวดีนคร ถึงฝั่งในพราหมณธรรม เห็นพระเรวตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฟัง
ธรรมกถาของพระองค์แล้วตั้งอยู่ในสรณะ กล่าวสดุดีพระทศพลด้วยคาถาพัน
โศลก บูชาด้วยผ้าห่มมีค่าเรือนพัน. แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์
พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ ในที่สุดสอง
อสงไขยกำไรแสนกัป นับแต่กัปนี้ไป. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ ชื่อว่า อติเทวะ เข้า
ไปเฝ้าพระเรวตพุทธเจ้า ถึงพระองค์เป็นสรณะ.
เราสรรเสริญศีล สมาธิและพระปัญญาคุณอันสูง
สุดของพระองค์ตามกำลัง ได้ถวายผ้าอุตตราสงค์.
แม้พระเรวตพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้นก็ทรง
พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หา
ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.

เราตั้งความเพียร ฯลฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่าน
ผู้นี้.

พึงกล่าว 17 คาถาให้พิศดาร
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้
บริบูรณ์.
แม้ครั้งนั้น เราระลึกถึงพุทธธรรมนั้นแล้วก็เพิ่ม
พูน จักนำพุทธธรรมที่เราปรารถนานักหนามาให้ได้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สรณํ ตสฺส คญฺฉหํ ตัดบทว่า ตํ
สรณํ อคญฺฉึ อหํ
แปลว่า ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์เป็นสรณะ. ฉัฏฐี-
วิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า ปญฺญาคุณํ ได้แก่ สมบัติคือปัญญา.
บทว่า อนุตฺตมํ ได้แก่ ประเสริฐสุด. ปาฐะว่า ปญฺญาวิมุตฺติ-
คุณมุตฺตมํ
ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น ก็ง่ายเหมือนกัน. บทว่า โถมยิตฺวา
แปลว่า ชมเชยแล้ว สรรเสริญแล้ว. บทว่า ยถาถามํ แปลว่า
ตามกำลัง. บทว่า อุตฺตรียํ แปลว่า ผ้าอุตตราสงค์. บทว่า อทาสหํ
ตัดบทว่า อทาสึ อหํ. บทว่า พุทฺธธมฺมํ ได้แก่ ธรรมที่ทำความเป็น
พระพุทธเจ้า อธิบายว่า บารมีธรรม. บทว่า สริตฺวา แปลว่า ตามระลึกถึง.
บทว่า อนุพฺรูหยึ ได้แก่ ทำให้เจริญยิ่งแล้ว. บทว่า อาหริสฺสามิ แปลว่า
จักนำมา. บทว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ ความเป็นพระพุทธเจ้านั้น. บทว่า
ยํ มยฺหํ อภิปตฺถิตํ ความว่า เราจักนำความพระพุทธเจ้าที่เราปรารถนา
นักหนามาให้ได้.